การคัดเลือกเชื้ออสุจิฉีดผสมเทียม
(Intrauterine insemination:IUI)
เป็นการคัดเลือกตัวเชื้ออสุจิที่แข็งแรง และรูปร่างดี ในปริมาณที่มากพอฉีดเข้าสู่โพรงมดลูก โดยฉีดผ่านสายยาง ที่สอดผ่านปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อช่วยให้อสุจิมีโอกาสพบกับไข่ได้ง่ายขึ้น
วิธีนี้เป็นวิธีการรักษาที่ไม่ยุ่งยาก ค่าใช้จ่ายไม่สูง และมีโอกาสในการตั้งครรภ์พอสมควรอย่างไรก็ตามผลการรักษาจะดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการคัดเลือกกลุ่มคู่สมรสที่เหมาะสมในการรักษา ซึ่งควรจะเป็นคู่สมรสที่มีอายุไม่มากไม่มีปัญหาเรื่องท่อนำไข่อุดตัน ไม่มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ที่รุนแรงหรือใช้กับฝ่ายชายที่มีภาวะผิดปกติไม่มาก
การทำกิ๊ฟท์ GIFT
(Gamete Intrafallopian Transfers)
เป็นวิธีการนำเอาไข่ และตัวอสุจิใส่กลับเข้าไปในท่อนำไข่ ตรงตำแหน่งที่เกิดการปฏิสนธิตามธรรมชาติโดยใส่ผ่านหน้าท้องด้วยวิธีการส่องกล้องวิธีการนี้เหมาะสำหรับฝ่ายหญิงที่มีท่อรังไข่ปกติอย่างน้อย 1 ข้าง และฝ่ายชายที่มีเชื้ออสุจิที่ค่อนข้างปกติ
ขั้นตอนในการรักษา
1. กระตุ้นรังไข่ด้วยฮอร์โมน ให้เกิดไข่หลายใบ
2. ติดตามการเจริญของถุงรังไข่ด้วยอัลตราซาวนด์ ฉีดยาฮอร์โมนกระตุ้นให้ไข่สุก และรอให้ไข่เจริญเต็มที่ ซึ่งไข่จะสุกเต็มที่หลังฉีดยาประมาณ 34-36 ชั่วโมง
3. เก็บไข่โดยใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ที่มีหัวตรวจสอดทางช่องคลอดแล้วใช้เข็ม ขนาดเล็กดูดไข่ผ่านทางช่องคลอดในขณะที่คนไข้ได้ยาระงับความรู้สึก
4. เตรียมน้ำเชื้ออสุจิในห้องปฏิบัติการ โดยคัดเลือกเอาเชื้ออสุจิตัวที่แข็งแรง
5. นำไข่และอสุจิมารวมกัน แล้วใส่กลับเข้าไปในท่านำไข่โดยใส่ผ่านทางหน้าท้อง ด้วยวิธีการส่องกล้อง
6. ให้ยาฮอร์โมน เพื่อช่วยให้รังไข่ทำงานสมบูรณ์ขึ้นหรือช่วยทำงานทดแทนรังไข่ และช่วยสนับสนุนการเจริญของเยื่อบุโพรงมดลูก
กรณีใช้เทคโนโลยีเพิ่มเติม....
- การรักษาอาการหรือภาวะแทรกซ้อน
- การเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกในการรับบริจาค
- การรับอสุจิบริจาค
- การคัดเลือกเพศ (Sex Selection)
- การนำเชื้ออสุจิออกจากอัณฑะด้วยวิธีเทเซ่ (TESE) หรือมีซ่า (MESA)
การทำเด็กหลอดแก้ว
(In–Vitro Fertilization:IVF)
จะคล้ายกับการทำกิ๊ฟท์มาก ต่างกัน คือ แพทย์จะนำเอาไข่และเชื้ออสุจิมาผสมกันในหลอดทดลองจนกระทั่งเกิดการปฏิสนธิ แล้วเลี้ยงต่อในห้องปฏิบัติการจนเป็นตัวอ่อน อีกประมาณ 2 – 3 วัน ซึ่งจะได้ตัวอ่อนในระยะ 4 – 8 เซลล์ หรือเลี้ยงจนถึงระยะบลาสโตซิสท์ (Blastocyst) แล้งจึงนำเอาตัวอ่อนใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตและฝังตัวต่อไป ในการเตรียมตัวอ่อนนี้อาจจะมีตัวอ่อนที่เหลือ และแข็งแรงก็สามารถทำการแช่แข็งและเก็บไว้ใช้ในรอบการรักษาต่อไปได้
วิธีการนี้เหมาะสำหรับคู่สมรสที่ฝ่ายหญิงมีความผิดปกติของท่อนำไข่ทั้งสองข้าง
มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เชื้ออสุจิของฝ่ายชายมีจำนวนน้อยหรือมีภาวะมีบุตรยาก
ที่ตรวจไม่พบสาเหตุ
ขั้นตอนในการรักษา
1. กระตุ้นรังไข่ด้วยฮอร์โมน ให้เกิดไข่หลายใบ
2. ติดตามการเจริญของถุงไข่ด้วยอัลตราซาวนด์ฉีดยาฮอร์โมนกระตุ้นให้ไข่สุก และรอให้ไข่เจริญเต็มที่หลังฉีดยา ประมาณ 34 – 36 ชั่วโมง
3. เก็บไข่โดยใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ ที่มีหัวตรวจสอดทางช่องคลอดแล้วใช้เข็มขนาดเล็กดูดไข่ผ่านทางช่องคลอดในขณะที่คนไข้ได้ยาระงับความรู้สึก
4. เตรียมน้ำเชื้ออสุจิในห้องปฏิบัติการ โดยคัดเลือกเอาเชื้ออสุจิตัวที่แข็งแรง
5. นำไข่และเชื้ออสุจิมารวมกัน ในภาชนะที่จัดเตรียมไว้ ภายในห้องปฏิบัติการ
6. ตรวจสอบการปฏิบัติสนธิเพื่อพิจารณาเลี้ยงเป็นตัวอ่อนเพื่อย้ายเข้าโพรงมดลูก หรือแช่แข็งต่อไป
กรณีใช้เทคโนโลยีการรักษาเพิ่มเติม....
- การรักษาอาการหรือภาวะแทรกซ้อน
- การเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกในการรับบริจาค
- การรับอสุจิบริจาค
- การคัดเลือกเพศ (Sex Selection)
- การเลี้ยงตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสท์ (Blastocyst Culture)
- บริการแช่แข็งตัวอ่อน (Embryo Freezing)
การทำอิ๊กซี่
(Intracytoplasmic Sperm Injection : ICSI)
วิธีนี้จะคล้ายกับการทำเด็กหลอดแก้วมาก ต่างกันตรงที่การปฏิสนธิซึ่งการทำอิ๊กซี่
ขั้นตอนในการรักษา
1.กระตุ้นรังไข่ด้วยฮอร์โมน ให้เกิดไข่หลาย ๆ ใบ
2.ติดตาม การเจริญเติบโตของถุงไข่ด้วยอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอด ฉีดยาฮอร์โมนกระตุ้น ให้ไข่สุก และรอไข่เจริญเต็มที่ซึ่งไข่จะสุกเต็มที่หลังฉีดยา ประมาณ 34–36ชั่วโมง
3.เก็บไข่โดยใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ ที่มีหัวตรวจสอดทางช่องคลอดแล้วใช้เข็มขนาดเล็กดูดไข่ผ่านทางช่องคลอดในขณะ ที่คนไข้ได้ยาระงับความรู้สึก
4.ตรียมน้ำเชื้ออสุจิในห้องปฏิบัติการ โดยคัดเลือกเอาเชื้ออสุจิตัวที่แข็งแรง
5.นำเอาเชื้ออสุจิ 1 ตัว ฉีดเข้าไปในไข่ที่สมบูรณ์โดยใช้เครื่องมือและกล้องที่มีความละเอียดมากภายในห้องปฏิบัติการ
6.ตรวจสอบการปฏิสนธิ เพื่อพิจารณาเลี้ยงเป็นตัวอ่อนเพื่อย้ายเข้าโพรงมดลูก หรือแช่แข็งต่อไป
7.นำตัวอ่อนที่สมบูรณ์ย้ายเข้าโพรงมดลูก ด้วยวิธีการคล้ายกับการตรวจภายในอาจจำเป็นต้องให้ยาฮอร์โมนเพื่อทดแทนการทำงานของรังไข่
กรณีใช้เทคโนโลยีเพิ่มเติม....
- การรักษาอาการหรือภาวะแทรกซ้อน
- การเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกในการรับบริจาค
- การนำเชื้ออสุจิออกจากอัณฑะด้วยวิธีเทเซ่ (TESE) หรือมีซ่า (MESA)
- การเลี้ยงตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสท์ (Blastocyst Culture)
- บริการแช่แข็งตัวอ่อน (Embryo Freezing)
การทำอิมซี่
(Intracytoplasmic Morphologically Selected Sperm Injection : IMSI)
เทคนิค IMSI คล้ายกับการทำ ICSI ต่างกันที่ขั้นตอนในการคัดเลือกอสุจิก่อนจะนำมาปฏิสนธิกับเซลล์ไข่
IMSI คือ เทคโนโลยีการคัดเลือกอสุจิด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูง 6,000-12,000 เท่า มากกว่าการคัดเลือกอสุจิด้วยกล้องจุลทรรศน์ด้วยเทคนิค ICSI ที่มีกำลังขยายเพียง 200-400 เท่า ทำให้สามารถเห็นลักษณะรูปร่างของตัวอสุจิได้ละเอียดกว่า
เทคนิค IMSI นี้ จะช่วยให้สามารถมองเห็นรูปร่างลักษณะของอสุจิได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยสามารถมองเห็น vacuole ที่หัวของอสุจิได้ ซึ่งการพบ vacuole ที่หัวของอสุจินั้นเป็นลักษณะที่บ่งชี้ว่า อสุจิตัวดังกล่าวอาจมีชิ้นส่วนของสารพันธุกรรมที่แตกหัก (DNA fragmentation) การนำอสุจิลักษณะนี้ผสมเข้าไปในเซลล์ไข่ จะส่งผลทำให้ตัวอ่อนที่ผสมได้ไม่สมบูรณ์ และอาจทำให้ไม่เกิดการฝังตัวในโพรงมดลูก หรือฝังตัวแล้วเกิดการแท้งได้ ซึ่งแตกต่างกับการทำ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) ที่ใช้กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายเพียง 200-400 เท่า เท่านั้น จึงจะไม่สามารถมองเห็นรายละเอียดบริเวณส่วนหัวของอสุจิได้ดีนักเมื่อเทียบกับการทำ IMSI
ขั้นตอนในการทำ
ผู้ชายที่เข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยากจะได้รับการตรวจ Semen analysis และ Sperm DNA Fragmentation ก่อนเพื่อดูคุณภาพของอสุจิ
ผู้ชายที่เข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยากจะได้รับการตรวจ Semen analysis และ Sperm DNA Fragmentation ก่อนเพื่อดูคุณภาพของอสุจิ
เหมาะสำหรับ
1.ฝ่ายชายมีความผิดปกติของอสุจิทางด้านจำนวนหรือคุณภาพและมี Sperm DNA fragmentation ในปริมาณที่สูง
2.มีประวัติอัตราการปฏิสนธิต่ำในรอบการรักษาที่ผ่านมา
3.มีอัตราการเจริญของ blastocyst ต่ำกว่าปรกติในรอบการรักษาที่ผ่านมา
4.การฝังตัวของตัวอ่อนในผนังมดลูกล้มเหลวมากกว่า 2 รอบการรักษา
1.ฝ่ายชายมีความผิดปกติของอสุจิทางด้านจำนวนหรือคุณภาพและมี Sperm DNA fragmentation ในปริมาณที่สูง
2.มีประวัติอัตราการปฏิสนธิต่ำในรอบการรักษาที่ผ่านมา
3.มีอัตราการเจริญของ blastocyst ต่ำกว่าปรกติในรอบการรักษาที่ผ่านมา
4.การฝังตัวของตัวอ่อนในผนังมดลูกล้มเหลวมากกว่า 2 รอบการรักษา
ประโยชน์ของ IMSI
- เพื่อเลือกอสุจิที่มีคุณภาพดี
- เพิ่มอัตราการปฏิสนธิและการพัฒนาของตัวอ่อนที่ปกติ
- เพิ่มอัตราการตั้งครรภ์
- ลดอัตราการแท้งบุตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น